โครงสร้างฐานรากและเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

เมื่อประมาณ 2 ถึง 3 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ได้มีเพื่อนที่เป็นแฟนเพจท่านหนึ่งได้สอบถามเข้ามาในโพสต์เก่าโพสต์หนึ่งที่ผมเคยได้เขียนเอาไว้เป็นบทความที่มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง การวิเคราะห์โครงสร้างเสาเข็มโดยใช้ SOIL SPRING โดยที่รายละเอียดของคำถามนั้นมีใจความดังต่อไปนี้ครับ

“เรียนถามดังนี้ครับว่า มีความจำเป็นหรือไม่ ในการออกแบบฐานราก เราจะไม่ทำการคิดและคำนึงให้มีการใช้งานค่าสปริงของดินเพราะเนื่องมาจากเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วในตอนเรียนในระดับมหาวิทยาลัย ท่านอาจารย์ไม่เคยได้สอนเกี่ยวกับค่า SOIL SPRING เลย และพอเรียนจบมาทำงานได้มีโอกาสออกแบบอาคารเป็นร้อยๆ หลังแล้ว ผมก็ไม่เคยได้มีโอกาสใช้งานค่า SOIL SPRING เลยสักครั้งเดียว ผลก็คือ กลับไปดูงานอาคารที่ได้ทำการออกแบบออกมาในอดีตก็พบว่าโครงสร้างก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรน่ะครับ ?”

 

จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้เป็นคำถามที่ดีมากนะ ซึ่งเป็นคำถามๆ หนึ่งที่ก่อนหน้าที่ผมจะได้มีโอกาสได้ทำงานการออกแบบโครงสร้างฐานรากโดยที่มีการใช้งาน SOIL SPRING ตัวของผมเองก็เคยได้ทำการตั้งเป็นคำถามในทำนองเดียวกันนี้เหมือนๆ กัน เอาเป็นว่าในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาตอบคำถามๆ นี้ให้แก่เพื่อนท่านนี้รวมถึงเพื่อนทุกๆ คนที่อาจจะเคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นๆ นี้ให้ได้รับทราบและทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะครับ

 

ก่อนอื่นเลยผมต้องขอกล่าวก่อนว่า การที่ท่านอาจารย์ไม่ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ในชั้นเรียนในระดับปริญญาตรีไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะ แม้กระทั่งตัวของผมเองตอนเรียนในระดับปริญญาตรีก็ไม่เคยจะได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้เช่นเดียวกันแต่ผมเคยได้ยินท่านอาจารย์รวมถึงวิศวกรอาวุโสเคยพูดถึงเรื่องๆ นี้บ้างอยู่เหมือนกันแต่ไมได้มีการลงรายละเอียด โดยส่วนตัวของผมนั้นได้เริ่มต้นเรียนรู้และใช้งาน SOIL SPRING ตอนที่ออกมาเรียนต่อและทำงานตอนเรียนในระดับปริญญาโทแล้ว สาเหตุที่เราไม่ได้ร่ำเรียนเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ตอนเรียนอยู่ในระดับปริญญาตรีนั้นเป็นเพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้จะอยู่ในวิชา วิศวกรรมฐานราก หรือ FOUNDATION ENGINEERING ซึ่งต้องยอมรับว่าเนื้อหาในวิชาๆ นี้ก็มีค่อนข้างที่จะมากอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้เองเค้าจึงจำเป็นต้องตัดเนื้อหาในหลายๆ ส่วนออกไป คงไว้เฉพาะที่จำเป็นต่อการใช้งานจริงๆ ก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะไม่โทษท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้น่ะครับ

 

มาถึงประเด็นสำคัญของคำถามบ้างละ คำตอบก็คือ ได้ครับ ทำไมจะไมได้ แต่ ก่อนที่เราจะก้าวต่อไปไกลกว่านี้ ผมจะต้องสอบถามและเน้นย้ำกับเพื่อนๆ ทุกคนก่อนว่า การที่เราไม่ทำการคำนึงถึงและนำเอาค่า SOIL SPRING มาใช้ในการทำงานออกแบบระบบโครงสร้างฐานรากของอาคาร นั่นเท่ากับว่าเพื่อนๆ จะมีการมีสมมติฐานในการออกแบบว่า “จุดรองรับ” หรือ “SUPPORT” ในโครงสร้างนั้นเป็น “จุดรองรับที่ไม่มีการเสียรูป” หรือ “RIGID SUPPORT” หรือเป็นจุดรองรับที่ “ไม่มีการเสียรูปแตกต่างกัน” หรือ “NON-DIFFERENTIAL SETTLEMENT”

 

ใช่หรือไม่ครับ ?

หากคำตอบคือ ใช่ การที่เพื่อนๆ ไม่ทำการคิดและคำนึงถึงให้มีการใช้งานค่า SOIL SPRING ก็มีความถูกต้องและมีความเหมาะสมแล้วแต่หากคำตอบคือ ไม่ นั่นก็เท่ากับว่าเพื่อนๆ กำลังตั้งสมมติฐานในการออกแบบอย่างหนึ่งแต่ตัวโครงสร้างจริงกลับมีพฤติกรรมเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ใช่หรือไม่ครับ ?

 

ผมพูดมาถึงตรงนี้ก็เชื่อว่าน่าจะเริ่มมีเพื่อนๆ ถึงบางอ้อกันแล้ว ถูกต้องแล้ว สาเหตุที่อาคารส่วนใหญ่ที่เพื่อนๆ นั้นได้ทำการออกแบบไปนั้นยังไม่ประสบพบเจอเข้ากับปัญหาใดๆ ในเวลานี้ก็เป็นเพราะว่า พฤติกรรมจริงๆ ของโครงสร้างของเพื่อนๆ นั้นจะมีจุดรองรับแบบที่มีการเสียรูป แต่ ค่าการเสียรูปที่เกิดขึ้นนั้นมีน้อยมาก หรือ ไม่มีการเสียรูปที่มีความแตกต่างกันมากจนเกินไป พูดง่ายๆ ก็คือ จุดรองรับอาจจะมีการเสียรูปแต่เนื่องจากทั้งระบบโครงสร้างอาจจะใช้เป็นฐานรากแบบแผ่ไปบนดินที่มีความแข็งแรงในระดับหนึ่งหรืออาจจะใช้เป็นฐานรากแบบเสาเข็มสั้นพอเกิดการทรุดตัวขึ้นในฐานรากเสาเข็มทุกๆ ต้นก็เกิดการทรุดตัวไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือ อาคารเกิดการทรุดตัวแต่ค่าการทรุดตัวดังกล่าวนั้นมีขนาดหรือระยะที่ใกล้เคียงกันนั่นเองครับ

 

ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะได้รับคำตอบในเบื้องต้นที่พอจะทำความเข้าใจได้และเพื่อไม่ให้โพสต์ในวันนี้มีความยืดยาวมากจนเกินไป ในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมอยากที่จะขอหยิบยกและนำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้มาขยายความและอาจจะทำการยกตัวอย่างให้เพื่อนๆ ได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันอีกสักหนึ่งโพสต์ก็แล้วกัน หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในบทความๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านโพสต์ดังกล่าวได้ในสัปดาห์หน้าครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม

#การไม่นำเอาค่าสปริงของดินมาใช้จะส่งผลอย่างไรต่อโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มบ้าง

#ครั้งที่1

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com