การจำแนกประเภทของการรับกำลังของเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

 

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมได้โพสต์ไปในหัวข้อ ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ซึ่งเนื้อหาจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง การคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มเดี่ยว เลยทำให้ผมนึกถึงคำถามที่ผมเคยได้รับมาสักพักก่อนนี้ว่า

 

“หากเราทำการทดสอบและคำนวณดูแล้วพบว่า เสาเข็มของเราจะมีทั้งความสามารถในการรับแรงเนื่องจากทั้งแรงฝืดและแรงแบกทานในเวลาเดียวกัน แบบนี้เราจะมีวิธีการจำแนกได้อย่างไรว่า เสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มแบบรับแรงฝืดเป็นหลักหรือ FRICTION PILE หรือว่าเป็นเสาเข็มแบบรับแรงแบกทานเป็นหลักหรือ BEARING PILE ละครับ ?”

ในเมื่อนึกถึงคำถามข้อนี้ออกผมก็เลยจะขออนุญาตนำเอาประสบการณ์ในการทำงานส่วนตัวของผมนำมาตอบให้แก่เพื่อนๆ ท่านนี้ว่า สำหรับผมแล้วเราจะมีวิธีในการพิจาณาจาก 2 คำตอบจาก 2 คำถามดังต่อไปนี้

  1. เสาเข็มของเรานั้นเกิดค่าการทรุดตัวเนื่องจากแรงประเภทใดมากกว่ากัน ?
  2. เสาเข็มของเรานั้นมีความสามารถในการรับแรงประเภทใดมากกว่ากัน ?

 

จากนั้นก็ให้เราทำการตั้งแบ่งประเภทของชั้นดินที่ปลายล่างสุดที่เสาเข็มของเราตั้งอยู่ว่า มีการวางตัวอยู่ที่ชั้นดินชนิดใดกันแน่ โดยจะแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น “ดินเหนียว” และ “ดินทราย” ซึ่งเกณฑ์ก็คือ

(A) หากปลายล่างสุดของเสาเข็มของเรานั้นวางอยู่บนชั้นดินที่เป็น “ดินเหนียว”

(A.1) หากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ A.1 คือ

A.1.1 การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงแบกทานเป็นหลัก

A.1.2 ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงฝืดมากกว่าแรงแบกทาน

คำตอบก็จะเป็น เสาเข็มแบบ “รับแรงฝืด” เป็นหลัก ซึ่งหากเปิดดูจาก BORING LOG ก็ควรที่จะอ่านผลได้ว่า ชั้นดินตลอดความยาวของเสาเข็มของเรานั้นเป็นชั้นดินเหนียวทั้งคู่

 

(A.2) หากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ A.2 คือ

A.2.1 การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงฝืดเป็นหลัก

A.2.2 ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงแบกทานมากกว่าแรงฝืด

คำตอบก็จะเป็น เสาเข็มแบบ “รับแรงแบกทาน” เป็นหลัก ซึ่งหากเปิดดูจาก BORING LOG ก็ควรที่จะอ่านผลได้ว่า ชั้นดินข้างบนนั้นเป็นชั้นดินเหนียวที่ค่อนข้างอ่อน ส่วนชั้นดินข้างล่างนั้นเป็นชั้นดินเหนียวที่มีความแข็งในระดับหนึ่ง

 

(A.3) หากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ A.3 คือ

A.3.1a การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงฝืดเป็นหลัก

A.3.2a ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงฝืดมากกว่าแรงแบกทาน

หรือ

A.3.3b การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงแบกทานเป็นหลัก

A.3.4b ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงแบกทานมากกว่าแรงฝืด

หากคำตอบออกมาเป็นเช่นนี้จริงๆ นั่นก็แสดงว่าอาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นเพราะข้อมูลจากคำตอบที่ได้รับมามีความขัดแย้งกันเองค่อนข้างมากจนผิดสังเกต เราควรที่จะต้องทำการตรวจสอบดูก่อนหรืออาจจะมีความเป็นไปได้ว่าในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นอาจจะพบชั้นดินกรณีพิเศษ กรณีของตัวอย่างก็อาจจะได้แก่ อาจจะเกิดจากการทดสอบหรือการคำนวณที่ผิดพลาด อาจจะเกิดจากชั้นดินข้างใต้นั้นมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก เป็นต้นนะครับ

 

(B) หากปลายล่างสุดของเสาเข็มของเรานั้นวางอยู่บนชั้นดินที่เป็น “ดินทราย”

(B.1) โดยหากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ B.1 คือ

B.1.1 การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงแบกทานเป็นหลัก

B.1.2 ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงฝืดมากกว่าแรงแบกทาน

คำตอบก็จะเป็น เสาเข็มแบบ “รับแรงฝืด” เป็นหลัก ซึ่งหากเปิดดูจาก BORING LOG ก็ควรที่จะอ่านผลได้ว่า ชั้นดินข้างบนนั้นเป็นชั้นดินเหนียว ส่วนชั้นดินข้างล่างนั้นเป็นชั้นดินทรายที่มีความแข็งไม่มากนัก

 

(B.2) หากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ B.2 คือ

B.2.1 การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงฝืดเป็นหลัก

B.2.2 ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงแบกทานมากกว่าแรงฝืด

คำตอบก็จะเป็น เสาเข็มแบบ “รับแรงแบกทาน” เป็นหลัก ซึ่งหากเปิดดูจาก BORING LOG ก็ควรที่จะอ่านผลได้ว่า ชั้นดินข้างบนนั้นเป็นชั้นดินเหนียวที่ค่อนข้างอ่อน ส่วนชั้นดินข้างล่างนั้นเป็นชั้นดินทรายที่มีความแข็ง

 

(B.3) หากคำตอบออกมาเป็นดังกรณีที่ B.3 คือ

B.3.1a การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงฝืดเป็นหลัก

B.3.2a ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงฝืดมากกว่าแรงแบกทาน

หรือ

B.3.1b การทรุดตัวเกิดเนื่องจากแรงแบกทานเป็นหลัก

B.3.2b ความสามารถในการรับกำลังนั้นเกิดจากแรงแบกทานมากกว่าแรงฝืด

 

หากคำตอบออกมาเป็นเช่นนี้จริงๆ ก็จะเข้าข่ายกรณีเดียวกันกับข้อ A.3 ซึ่งก็คือ อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นเพราะข้อมูลจากคำตอบที่ได้รับมามีความขัดแย้งกันเองค่อนข้างมากจนผิดสังเกต เราควรที่จะต้องทำการตรวจสอบดูก่อนหรืออาจจะมีความเป็นไปได้ว่าในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นอาจจะพบชั้นดินกรณีพิเศษ กรณีของตัวอย่างก็อาจจะได้แก่ อาจจะเกิดจากการทดสอบหรือการคำนวณที่ผิดพลาด อาจจะเกิดจากชั้นดินข้างใต้นั้นมีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก เป็นต้นนะครับ

 

อย่างที่ผมได้เรียนให้ทราบกันไปในตอนต้นนะครับว่า วิธีในการพิจารณาดังที่ได้กล่าวถึงไปข้างต้นนี้ เป็นวิธีการส่วนตัวที่ผมนำใช้จากประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ ของผม หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดเห็นว่ามีประโยชน์และมีความต้องการอยากจะนำไปใช้ ผมก็ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆ เพื่อนๆ สามารถที่จะนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้เลยแต่หากว่าใครไม่สะดวกใจในแง่ใดๆ ก็ตามก็ไม่เป็นไร ร่วมรับฟังกันเอาไว้ตรงนี้ก็พอหรือสำหรับเพื่อนๆ ที่มีประสบการณ์ทางด้านนี้อาจจะยากแชร์ความรู้ตรงส่วนนี้ให้แก่ผมบ้าง ผมก็ยินดีและดีใจที่จะได้ร่วมเสวนากันกับเพื่อนๆ ในประเด็นนี้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็ม
#ตอบปัญหาเรื่องการจำแนกประเภทของการรับกำลังของเสาเข็ม

ADMIN JAMES DEAN

 


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com