STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE

STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

วันนี้ผมได้ทำการนำเสนอผลงานการวิจัยเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนเย็นๆ พอเสร็จจากงานประชุมเลยมีโอกาสได้มาเดินชมนิทรรศการที่บรรดาสปอนเซอร์และห้างร้านต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวได้ทำการแสดงอยู่และมีโอกาสได้ไปพบเจอกับบริษัทที่มีการจัดจำหน่ายอุปกรณ์ๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและในขณะนี้ก็ได้มีการนำเอาผลจากการทำงานวิจัยไปต่อยอดใช้ในงานโครงสร้างจริงๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นก็คือ ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า STEEL BUCKLING RETSTRAINED BRACE หรืออาจเรียกด้วยคำย่อว่า SBRB นั่นเองครับ

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์ความรู้และพูดถึงเรื่อง ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับรู้และทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันนะครับ

จริงๆ แล้วชื่อของเจ้า SBRB หรือว่า ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ นี้ก็น่าที่จะเป็นสิ่งที่จะสามารถบ่งบอกได้ถึงความเป็นตัวตนของชิ้นส่วนโครงสร้างนี้ได้ดีที่สุดอยู่แล้วนั่นก็คือ ชิ้นส่วนชิ้นนี้จะถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยวัสดุจำพวกเหล็กที่จะมีหน้าที่เป็นชิ้นส่วนโครงสร้างรองที่จะคอยทำการยึดรั้งชิ้นส่วนหลักๆ ภายในระบบโครงสร้าง โดยที่จะเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างรองนี้เองก็จะได้รับการป้องกันไม่ให้สามารถเกิดการโก่งเดาะได้

โดยในการออกแบบ SBRB นั้นผู้ออกแบบจะต้องทำการเลือกและกำหนดตำแหน่งของ SBRB ที่เราจะใช้ยึดรั้งเข้าไปในโครงสร้างให้ดีเสียก่อน จากนั้นก็จะทำการสมมุติขนาดพื้นที่ของหน้าตัดภายในเหล็กแกนของ SBRB ขึ้นมา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร โดยอาจจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยแรงกระทำตามวิธีการแรงสถิตเทียบเท่าก็ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทำการคำนวณหาค่าแรงที่จะกระทำตามแนวแกนของเหล็กแกนภายใน SBRB เพื่อที่สุดท้ายแล้วเราจะสามารถนำไปใช้ในการออกแบบหาพื้นที่หน้าตัดสุทธิของเหล็กแกนภายใน SBRB ได้น่ะครับ

โดยหลักการง่ายๆ ในทำการออกแบบ SBRB ก็คือ เราจะทำการออกแบบให้ปลอกหุ้มเหล็ก หรือ STEEL CASING นั้นมีกำลังสูงที่กว่ากำลังที่เกิดจากกำลังรับแรงสูงสุดของเหล็กแกน หรือ STEEL CORE โดยในปัจจุบันเราอาจจะสามารถทำการออกแบบได้ตามข้อกำหนดของ AMERICAN INSTITUTE OF STEEL CONSTRUCTION หรือ AISC ก็ได้นะครับ

เมื่อเราทำการติดตั้ง ชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะ เข้าไปในโครงสร้างเมื่อใดและระบบโครงสร้างของเรามีโอกาสที่จะต้องรับแรงกระทำทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหว ต่อให้เจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้จะรับแรงกระทำที่มีค่ามากๆ จนเลยค่ากำลังที่จุดครากไปแล้วแต่ว่าเจ้าชิ้นส่วนนี้จะยังไม่ถือว่าได้เกิดการวิบัติเพราะว่าเจ้าชิ้นส่วนๆ นี้ยังจะสามารถที่จะไปต่อได้ในช่วงที่มีความเป็น NON-LINEAR อีกไกลโข อย่างน้อยก็จนกว่าที่ค่าแรงกระทำดังกล่าวนี้จะมีค่ามากถึงค่ากำลังประลัยของตัววัสดุเลย

ดังนั้นด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้จึงเป็นกลไกที่จะช่วยในการสลายพลังงานที่จะเกิดจากแรงกระทำทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวได้อย่างดีและมีความต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยหากเรานำเอาเจ้าชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะนี้ไปทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเมื่อใด เราก็จะพบได้ว่าผลของ HYSTERESIS CURVE ของเจ้า SBRB นี้จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบตามทฤษฎีของการทดสอบชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กแบบเป๊ะๆ เลยละครับ

ตามเหตุผลที่ผมได้กล่าวถึงโดยสังเขปนี้ จึงทำให้เมื่อใดก็ตามที่เราทำการติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างยึดรั้งเหล็กที่จะไร้ซึ่งการโก่งเดาะเข้าไปในโครงสร้างที่ตำแหน่งใดๆ ที่มีความเหมาะสม จะเป็นการช่วยเพิ่มกลไกความสามารถในการสลายพลังงานของระบบโครงสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนยังจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการควบคุมค่าการเสียรูปทางด้านข้างอันเนื่องมาจากแรงกระทำจากแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ

ต่อไปผมจะเลือกนำเอาเรื่องราวอะไรที่ถือได้ว่ามีความน่าสนใจและน่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ มาแชร์หรือมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกในขณะที่ผมอยู่ในประเทศไต้หวัน ผมก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนนั้นช่วยกันติดตามอ่านบทความของผมได้ในวันพรุ่งนี้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586