การถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามที่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งของผมที่ได้สอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องระยะและขนาดของการที่เราจะล้วงเหล็กเข้าไปในฐานรากซึ่งคำถามข้อนี้จะต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมที่ได้โพสต์เกี่ยวกับฐานรากวางบนดินนะครับ

เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล นะครับ โดยที่เสาจะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักกระทำแบบเป็นจุดลงสู่ฐานราก น้ำหนักบรรทุกนี้จะถูกส่งผ่านโดยหน่วยแรงแบกทานในคอนกรีต (CONCRETE BEARING STRESS) และ หน่วยแรงในเหล็กเสริมบริเวณจุดต่อ

เพื่อนๆ ลองคิดและจินตนาการตามผมนิดนึงนะครับ เนื่องจากขนาดพื้นหน้าตัดของคอนกรีตที่บริเวณรอยต่อของโครงสร้างเสาตอม่อ และ โครงสร้างฐานรากนี้จะมีค่าสูงกว่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตในเสา คสล ค่อนข้างมาก ดังนั้นหากเราพิจารณาตามความเป็นจริงข้อนี้แล้วจะพบว่าปริมาณการเหล็กเสริมที่เราจะใช้ในบริเวณโครงสร้างส่วนนี้ อาจ ใช้โดยกำหนดให้มีค่าพื้นที่หน้าตัดของเหล็กเสริม น้อยกว่า เหล็กยืนในเสาได้นั่นเองครับ

โดยเมื่อจะทำการคำนวณค่าปริมาณพื้นที่เหล็กเสริมน้อยที่สุด CODE ได้กำหนดให้คำนวณจากสมการ:

As min = 0.005Ac

โดยที่ Ac คือ พื้นที่หน้าตัดของเสา

มาดูตัวอย่างที่ผมนำมาฝากเพื่อนๆ กันนะครับ ในรูปเป็นโครงสร้างเสา คสล ขนาด 50×50 cm โดยใช้คอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยเท่ากับ 350 ksc และ ใช้เหล็กเกรด SD40 ขนาด DB25 จำนวน 8 เส้น โดยเสาต้นนี้จะถูกรองรับด้วยฐานรากที่ทำจากคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยเท่ากับ 210 ksc และ ใช้เหล็กเกรด SD40 ขนาด DB20 โดยเราจะสามารถทำการคำนวณเหล็กเสริมที่จะใช้ต่อเนื่องเข้าไปในฐานรากได้จากสมการข้างต้นนะครับ

As min = 0.005x50x50 = 12.50 CM^(2)

ผมเลือกใช้เหล็กขนาด DB20 จำนวน 4 เส้น ซึ่งจะมี

As = 12.56 CM^(2)

โดยเราจะใช้เหล็กขนาดและปริมาณดังกล่าวนี้เป็นเหล็กต่อเชื่อมซึ่งยื่นเข้าไปในฐานราก โดยมีระยะเท่ากับระยะฝังที่หน้าตัดต้องการสำหรับเหล็กเสริมขนาด DB20 นะครับ

เมื่อเหล็กเสริมนี้ต้องรับแรงอัดในคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยเท่ากับ 210 ksc จะต้องการค่าระยะการล้วงเหล็กจากตอม่อเข้าไปในฐานรากให้มีค่าไม่น้อยกว่า

Ld = 41 CM

โดยที่ค่าๆ นี้เราสามารถที่จะคำนวณได้จากสมการ DEVELOPMENT LENGTH ได้เลยนะครับ และ จะต้องมีระยะยื่นเข้าไปในเสาเท่ากับค่าที่มากกว่าของ

(1) ระยะต่อ ของเหล็กขนาด DB20 เมื่อต้องรับแรงอัดในคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยเท่ากับ 350 ksc เท่ากับ 0.007×4,000×2.0 = 56 CM

(2) ระยะฝัง ของเหล็กขนาด DB25 เมื่อต้องรับแรงอัดในคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดประลัยเท่ากับ 350 ksc เท่ากับ 43 CM

ดังนั้นระยะนี้จะมีค่าเท่ากับจากการเลือกค่ามากที่สุดระหว่าง

Ld = MAX.(56 CM และ 43 CM) = 56 CM

เมื่อเราใช้เหล็กขนาดและปริมาณนี้ต่อเชื่อมเข้าไปในฐานราก ปลายของเหล็กเสริมก็จะถูกงอฉากเพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกและยึดติดกับฐานรากได้ แต่ ต้องขออธิบายก่อนนะครับว่าการงอฉากนี้ มิได้ เป็นการเพิ่มการพัฒนาแรงอัดในเหล็กได้นะครับ ดังนั้นเมื่อคำนวณค่า DEVELOPMENT LENGTH นี้ให้เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เราจึงมักจะทำการกำหนดระยะการงอขอนี้ให้มีระยะขั้นต่ำให้ไม่น้อยกว่า 30 CM นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com